วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

มังสวิรัติกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อเราเป็นคนใส่ใจสุขภาพและใส่ใจสิ่งแวดล้อมแล้ว เราย่อมสรรหาสิ่งที่ดีให้กับชีวิตเราเอง เช่นเรื่องอาหารการกิน เริ่มจาการสรรหาอาหารเพื่อสุขภาพมารับประทาน โดยการลดสัดส่วนของเนื้อสัตว์ลงทุกชนิด 

ถ้าถามว่าทำไมจึงต้องลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลงก็ต้องบอกว่าไปเจอข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจเข้า คือการบริโภคเนื้อสัตว์ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่าบางคนอาจสงสัยว่าเนื้อสัตว์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร และผลเสียของการบริโภคเนื้อสัตว์กับร่างกายคืออะไร เราไปดูข้อมูลนี้กันค่ะ


ก่อนอื่นมาดูข้อมูลอัตราการบริโภคเนื้อสัตว์ก่อนค่ะ


สถาบัน Worldwatch ชี้ว่าทั้งปริมาณการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ในประเทศที่กำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นมากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จำนวนสัตว์ในฟาร์มเช่น หมู แกะ แพะ รวมถึงสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นราว 23 % ตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านตัวทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง และการมีรายได้มากขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้การผลิต และการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา การบริโภคของกลุ่มชนชั้นกลางใน จีน อินเดีย และบราซิลเพิ่มสูงขึ้น เพราะคนมีรายได้มากขึ้น พวกเขาจะหาซื้ออาหารที่คิดว่ามีคุณภาพ ซื้อนม เนยแข็งและเนื้อสัตว์มากขึ้น ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ นำไปสู่การเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มขนาดใหญ่ที่เรียกกันว่าโรงงานฟาร์ม 

  • ผลเสียจากการบริโภคเนื้อสัตว์ต่อร่างกาย
มีผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Internal Medicine ที่สรุปว่าการรับประทานเนื้อสัตว์สี่ขาเช่น เนื้อวัว หมู และแกะสร้างความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเป็นโรคหัวใจ และมะเร็ง รวมถึงสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าคนในประเทศที่บริโภคเนื้อสัตว์ จำนวนมากจะมีจำนวนผู้ป่วยเป็นโรคต่างๆมากเช่นกัน โดยเฉพาะโรคหัวใจ และมะเร็ง นอกจากนี้ยังทำให้แก่เร็ว และอายุสั้นกว่ากลุ่มคนที่กินพืชผัก ( http://www.voathai.com, http://www.worldwatch.org )

 
Photograph: Alamy
  • ผลเสียจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์
หลายคนอาจยังไม่ทราบถึงปัญหาของการทำปศุสัตว์ที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเนื้อวัวกับพืช เช่น มันฝรั่ง ข้าวสาลี หรือข้าว ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเลี้ยงวัวเข้าขั้นสูงสุด เพราะต้องใช้พื้นที่มากกว่าถึง 160 เท่า และปล่อยก๊าซมีเทนที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกมากถึง 11 เท่า นอกจากนี้ฟาร์มปศุสัตว์อื่นๆก็ปล่อยก๊าซมีเทนเหมือนกันเช่น ฟาร์มแกะ และหมู

เกษตรกรรมนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันสภาวะโลกร้อน โดยคิดเป็นทั้งสิ้นร้อยละ 15 จากการปลดปล่อยก๊าซมีเทนทั้งหมด โดยกว่าครึ่งนั้นมาจากการปศุสัตว์ ยิ่งไปกว่านั้น ปริมาณน้ำและอาหารที่จำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงวัวอย่างมหาศาลสร้างความกังวลให้กับ ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากภายในปี 2050 เราจะมีประชากรเพิ่มขึ้นอีกถึง 2 พันล้านคน ( http://www.theguardian.com


ถ้าทราบดังนี้แล้วขอเชิญชวนเพื่อนๆ ลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์กันนะคะ แต่ถ้ากลัวว่าจะไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เรามีอีกบทความที่ขอเชิญเพื่อนให้ติดตามกันต่อตอนหน้าค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น